โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๖๑ - ๘๐ | ๘๑ - ๑๐๐ | ๑๐๑ - ๑๒๐ | ๑๒๑ - ๑๔๐ |

| ๑๔๐ - ๑๖๐ | ๑๖๑ - ๑๖๖ |

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

 

๑๑๗. กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ ()

 

 

          เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมพระตำรวจมาสังกัดกระทรวงวังนั้น คงมีอัตรากำลังนายตำรวจในสังกัดกรมพระตำรวจตามที่ปรากฏนามในทำเนียบทั้งฝ่ายพระบรมมหาราชวังและฝ่ายพระราชวังบวร ดังนี้

 

"จางวาง กรมพระตำรวจ

พระยาอนุชิตชาญไชย (ขวา)   พระยาอภัยรณฤทธิ (ซ้าย)
พระยาอภิชิตชาญยุทธ   พระยากำแหงรณฤทธิ
     

จางวาง ทหารใน

พระยาราชสงคราม   พระยาสามภพพ่าย
     

จางวาง พลพัน

พระยามหานุภาพ   พระยามหิมานุภาพ
     
เจ้ากรม ๔ ตำรวจ
พระยามหามนตรี (ขวา)    พระยามหาเทพ (ซ้าย)
พระอินทรเทพ (ขวา)   พระพิเรนทรเทพ (ซ้าย)
     

เจ้ากรมสนมตำรวจ

พระราชวรินทร์ (ขวา)   พระอินทรเดช (ซ้าย)
พระพรหมบริรักษ์ (ขวา)   พระสุริยภักดี (ซ้าย)
     
เจ้ากรมทหารใน
พระวิสูตรโยธามาตย์ (ขวา)   พระราชโยธาเทพ (ซ้าย)
     

เจ้ากรมพลพัน

พระหฤไทย (ขวา)   พระอภัยสุรินทร์ (ซ้าย)
     
ปลัดกรมพระตำรวจ
จมื่นทิพเสนา (ขวา)   จมื่นราชามาตย์ (ซ้าย)
จมื่นไชยภูษา (ขวา)   จมื่นไชยภรณ์ (ซ้าย)
จมื่นทิพรักษา (ขวา)   จมื่นราชานุบาล (ซ้าย)
จมื่นสมุหพิมาน (ขวา)   จมื่นประธานมณเฑียร (ซ้าย)
     

ปลัดกรมทหารใน

ขุนอินทร์รักษา (ขวา)   ขุนพรหมรักษา (ซ้าย)
     
ปลัดกรมพลพัน
จมื่นใจสนิท (ขวา)   จมื่นจิตรจำนงค์ (ซ้าย)
     

จ่า

จ่าห้าวยุทธการ   จ่าหาญยุทธกิจ
จ่าแผลงฤทธิรอนราญ   จ่าผลาญริยพิศม์
จ่าแรงรับราชการ   จ่าเร่งงานรัดรุด
จ่าเขม้นสรยุทธยิ่ง   จ่าเขม้นสัตริยาวุธ
     
ปลัดจางวางทหารใน
หลวงพลกายกรีฑา   หลวงโยธาไพจิตร์
     
จ่าจางวาง
จ่าชำนิทั่วด้าน   จ่าชำนาญทั่วด้าว
     

นายเส้นทหารใน

ขุนศิลปสาตร์   ขุนชาติวิชา
     
จ่าพลพัน
จ่าเผ่นผยองยิ่ง   จ่าโผนวิ่งชิงไชย
     
เจ้ากรมทนายเลือก
หลวงมลโยธานุโยค   หลวงไชยโชคชกชะนะ
     

ปลัดกรมทนายเลือก

ขุนภักดีอาษา   ขุนโยธานุรักษ์
     
นายสนาม
หมื่นภูมินทร์โยธา   หมื่นอาษาภูธร
     
เจ้ากรมเรื้อตั้งคู่ชัก
หลวงอภัยเสนา   หลวงสุเรนทร์นุชิต
     
ปลัดกรมเรือตั้งคู่ชัก
ขุนบัญชาพล   ขุนฤทธิพิไชย
     
จางวาง ฝ่าย []
พระยาบริรักษ์ราชา   พระยาอัษฤาเรืองเดช
     
เจ้ากรม
พระอินทราธิบาล   พระพรหมาภิบาล
พระพรหมสุรินทร์   พระอินทร์รักษา
พระณรงค์วิชิต   พระฤทธิเดชะ
พระศรีพิทักษ์   พระรักษาเทพ
     
ปลัดกรม
จมื่นอินทรเสนา   จมื่นอินทรามาตย์
จมื่นสิทธิแสนยารักษ์   จมื่นศักดิแสนยากร
จมื่นศรีบริรักษ์   จมื่นศักดิบริบาล
จมื่นมณเฑียรพิทักษ์   จมื่นรักษ์พิมาน
     
จ่า
จ่ารณวิชิต   จ่าฤทธิไชย
จ่าจิตรสรไกร   จ่าใจสุรแกว่น
จ่าไล่พลแสน   จ่าแล่นผขญผลาญ
จ่าแกว่นประกวดงาน   จ่าการประกอบกิจ
     
จางวาง ทหารในฝ่าย []
พระยาอร่ามมณเฑียร" []    
     

 

กับมีนายเวรเดิม ๓๘ นาย เพิ่มใหม่ในรัชกาลนี้อีก ๑๐ นาย รวมเป็น ๔๘ นาย ส่วนพลพระตำรวจนั้นใช้ข้าราชการกรมมหรสพเข้าสมทบ จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงมีพระบรมราชานุญาตให้กระทรวงวังรับสมัครนายทหารกองหนุนและบุคคลพลเรือนเข้าประจำการในกรมพระตำรวจ แต่ก็ยังคงมีการเรียกพลยักษ์พลลิงจากกรมมหรสพเข้าสมทบเป็นพลพระตำรวจให้ครบตามอัตราที่กำหนดไว้

 

 

พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต)

 

 

          ด้วยเหตุที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลยักษ์พลลิงจากกรมมหรสพเข้าสมทบรับราชการในหน้าที่พระตำรวจหลวงนั้นเอง จึงมีครูโขนผู้ใหญ่ในกรมมหรสพบางนายได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์และตำแหน่งรวมอยู่ในกรมพระตำรวจ เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระระบำภาษา (ทองใบ สุวรรภารต) ครูโขนสังกัดกรมโขนหลวงแต่งเครื่องยศพระตำรวจชั้นขุนตำรวจตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพรหมาภิบาล เจ้ากรมพระตำรวจในขวาฝ่ายพระราชวังบวร มีตำแหน่งเป็นสำรองราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ เป็นต้น

 

          เมื่อกระทรวงวังจัดกำลังพลที่เข้าใหม่เข้าประจำการในกรมพระตำรวจใน พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้บรรดาข้าราชการกรมพระตำรวจทั้งที่ประจำรับราชการอยู่เดิมและที่เข้ารับราชการใหม่กระทำสัตย์สาบาลถือน้ำหน้าพระที่นั่งตามธรรมเนียม เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐

 

          "เวลาบ่าย ๔ โมง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับยังพระลานน่าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อกรมพระตำรวจ ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณเฉภาะพระพักตร์เสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราโชวาทตามสมควรแล้ว ทรงเศกแทงน้ำด้วยพระแสงศรกำลังราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมาชิกกรมพระตำรวจ รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามลำดับเสร็จแล้ว กรมพระตำรวจได้เดินแถวผ่านหน้าที่ประทับ"  []

 

          ในวโรกาสเดียวกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงกระบี่ยุทธให้เป็นธงประจำกรมพระตำรวจ และเนื่องด้วยมีพระราชดำริว่า ในเวลานั้น "มีกรมที่เรียกว่าตำรวจมากหลายด้วยกัน ซึ่งอาจจะเปนเหตุให้ขนานนามปะปนกันไปได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนขนานนามกรมพระตำรวจเสียใหม่ว่า กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์" [] ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐
อนึ่ง เมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมพระตำรวจไปสังกัดกระทรวงวังใน พ.ศ. ๒๔๕๓ แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งสมุหพระตำรวจขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงวัง มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการในกรมพระตำรวจโดยสิทธิ์ขาด
"เทียบชั้นสมุหราชองครักษ์ สำหรับดูแลรับผิดชอบต่อราชการในน่าที่กรมพระตำรวจ"  [] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญชัย (สาย สิงหสนี) จางวางกรมพระตำรวจขวา เป็นสมุหพระตำรวจเป็นคนแรก

 

 

พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย

(สาย สิงหเสนี)

พระตำรวจเอก นายพลตรี เจ้าพระยาราชศุภมิตร

(อ๊อด ศุภมิตร)

 

 

 


[ ]  จางวางกรมพระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งยกมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง

[ ]  จางวางทห่ารในฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งยกมาสมทบรับราชการในพระบรมมหาราชวัง

[ ]  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๖ ว.๕/๗ เรื่อง ทำเนียบกรมพระตำรวจ.

[ ]  "ข่าวในพระราชสำนัก", ราชกิจจานุเบกษา ๓๔ (๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๐), หน้า ๑๓๙๔.

[ ]  "ประกาศขนานนามกรมพระตำรวจ แลกรมพระตำรวจวัง", ราชกิจจานุเบกษา ๓๔ (๒๑ ตุลาคม ๒๔๖๐), หน้า ๔๖๕ - ๔๖๖.

[ ]  "ประกาศยกกรมพระตำรวจรวมเข้าอยู่ในกระทรวงวัง", ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ (๑ มกราคม ๑๓๙), หน้า ๙๔ - ๙๕.

 

 

ก่อนหน้า  |  ๑๑๑  |  ๑๑๒  |  ๑๑๓  |  ๑๑๔  |  ๑๑๕  |  ๑๑๖  |  ๑๑๗  |  ๑๑๘  |  ๑๑๙  |  ๑๒๐  |  ถัดไป  |

บทความปัจจุบัน | บทความย้อนหลัง : ตอนที่ - ๒๐ | ๒๑ - ๔๐ | ๔๑ - ๖๐ | ๖๑ - ๘๐ | ๘๑ - ๑๐๐ | ๑๐๑ - ๑๒๐ | ๑๒๑ - ๑๔๐ |

| ๑๔๐ - ๑๖๐ | ๑๖๑ - ๑๖๖ |